fbpx
Categories
Dev365TH investment money plans การลงทุน บริหารหนี้ วางแผนการเงิน

วางแผนการเงิน

คลังความรู้วางแผนการเงิน สร้างความมั่งคั่งที่ยั่งยืน ทั้งในวันนี้และอนาคตครับ

Avatar photo

By OTTO

I'm a graphics design, 3d model, game apps developer. I'm very young programmer. Thank for everyone support me. งานและชีวิตของผม เริ่มต้นจากสิ่งที่ผมรัก ครอบครัวที่คอยสนับสนุนผมครับ

5 replies on “วางแผนการเงิน”

มีเวลาที่มากกว่า 24 ชั่วโมง
ซ่อนอยู่ในสมองของคุณ
เทคนิคโกงเวลาแบบ CEO
.
เคยสงสัยไหมว่าทำไมบางวันตื่นขึ้นมาทำงาน ใช้ชีวิตไปแป๊ปเดียวก็หมดวันแล้ว ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเลย กลับกันกับคนที่ทำงานเก่ง ๆ พวกเขาสามารถสร้างสรรค์บางสิ่งที่ยิ่งใหญ่ขึ้นมาได้ในขณะที่ใช้เวลาเท่ากัน
.
สิ่งที่ทำให้คนที่ทำงานเก่งแตกต่างจากคนอื่นคือ พวกเขารู้วิธีที่จะ “โกงเวลา” ให้ตัวเองมีมากกว่าคนอื่น เพื่อที่จะได้ทำมากกว่าคนอื่น ยกตัวอย่างเช่น บิล เกตส์ ที่หลายคนมองว่าเขาน่าจะเป็นคนที่งานรัดตัวที่สุดในโลกคนหนึ่ง แต่เขาก็ยังคงมีเวลาอ่านหนังสือ พักผ่อน หรือทำกิจกรรมบางอย่าง
.
ที่เขาสามารถทำได้ ไม่ใช่เพราะว่าเขารวยจึงมีเวลาเยอะ แต่เพราะเขารู้จักที่จะ “บริหารเวลา” ต่างหาก
.
Jayson DeMers ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ AudienceBloom เอนเจนซี่การตลาดโซเชียลมีเดียได้พูดถึงทฤษฎีที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ CEO หลายคนว่า ถึงแม้พวกเขาจะดูเหมือนเป็นคนที่ยุ่งที่สุดในโลก แต่พวกเขาก็ใช้หลักการ “10 นาทีต่อวัน” ในการจัดสรรเวลา
.
10 นาที ดูเหมือนเป็นเวลาที่น้อยมากถ้าหากเทียบกับ 480 นาที หรือ 8 ชั่วโมงในเวลาทำงาน 1 วัน แต่มันสามารถสร้างผลลัพธ์การทำงานได้มากกว่าที่คิด
.
Jayson DeMers ได้ยกตัวอย่างการใช้เวลา 10 นาทีต่อวันให้เกิดประโยชน์และทำให้ประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้น
.
⏱️ ใช้เวลา 10 นาทีในการทำโปรเจกต์ใหญ่
.
สมมุติว่าคุณมีโปรเจ็กต์ใหญ่ที่เข้ามากะทันหันและมีกำหนดส่ง ในอีกไม่กี่สัปดาห์หรือหลายเดือน และคุณไม่รู้เลยว่าจะเข้ากับมันได้อย่างไร ซึ่งมันอาจต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงในการวางแผน การค้นคว้า และลงมือทำ ซึ่งถ้ามองดูแล้ว ใช้เวลาเพียงแค่ 10 นาทีอาจดูไม่เพียงพอที่จะจบงานได้ง่าย เพราะยังจับต้นชนปลายอะไรไม่ถูกเลย
.
ถ้าเป็นอย่างนั้น ในช่วง 10 นาทีแรกหลังจากได้รับโปรเจกต์มา ให้ลองเป็นงานออกเป็นหลายส่วน แยกออกให้ชัดเจน และเริ่มจัดลำดับความสำคัญของแต่ละส่วนให้เสร็จ หลังจากนั้นจัดสรรว่างานชิ้นไหนควรทำให้เสร็จเมื่อไหร่ เพียงเท่านี้ การทำงานก็จะเป็นระบบและมองเห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนมากขึ้น
.
⏱️ ใช้เวลา 10 นาทีในการจัดการงานจิปาถะ
.
บางครั้งงานเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ต้องทำในแต่ละวันอาจกินเวลางานหลักที่กำลังทำอยู่จนมันถูกทดเวลาไปเรื่อย ๆ รู้ตัวอีกทีก็เลิกงานแล้ว จากที่ต้องเลิกงานตรงเวลาก็ต้องทำงานล่วงเวลาแบบได้โอฟรีที่ไม่ใช่โอทีอีก ดังนั้นคุณอาจรวมงานย่อยเหล่านี้เป็นเซสชันละ 10 นาทีต่อวัน เพราะนอกจากมันจะช่วยให้คุณเองไม่ผลัดวันมันไปเรื่อย ๆ แล้ว ยังช่วยประหยัดเวลาไม่ให้กระทบกับงานอื่น ๆ ได้อีกด้วย
.
⏱️ ใช้เวลา 10 นาทีในการพัฒนาตัวเอง
.
ถ้าหากมีเวลาว่างหลังจากทำงานสักนิด การใช้เวลา 10 นาทีต่อวันในการอ่านหนังสือ หรือทำกิจกรรมที่พัฒนาตัวเองก็เป็นผลดีเช่นกัน ซึ่งถึงแม้ว่าหลายคนอาจมองว่า 10 นาทีจะไปมีประโยชน์ให้ตัวเองได้พัฒนาทักษะอะไรได้ แต่ถ้าหากลองนับรวมกันตลอดทั้งปีแล้ว ภายในสิ้นปีคุณจะมีเวลาทั้งหมดมากกว่า 50 ชั่วโมง
.
บิล เกตส์ เคยให้สัมภาษณ์ในรายการของ Charlie Rose ในปี 2017 ว่าบางครั้งเขารู้สึกว่าเขาต้องจัดตารางงาน “ทุกนาที” เพื่อพิสูจน์ “ความจริงจัง” ของเขาในฐานะผู้นำธุรกิจ ซึ่งวิธีแก้ไขปัญหานี้คือ การจัดเวลาเป็นกลุ่ม
.
มันเหมือนแบ่งกิจกรรมแต่ละอย่างออกมาเป็นกลุ่มใหญ่ และดูว่าคุณใช้เวลาในกลุ่มไหนมากที่สุด จากนั้นให้ปรับตารางเวลาให้เหมาะสมเพื่อไม่ให้เอาเวลาอันมีค่าไปกับการทำกิจกรรมที่ไร้สาระ
.
ทุกคนมีเวลา 24 ชั่วโมงเท่ากัน แต่การมองเห็นคุณค่าและการใช้งานไม่เหมือนกัน เช่นเดียวกับ 10 นาทีที่หลายคนอาจมองว่าน้อยและไม่มีค่า แต่ถ้าหากใช้พลังของมันเป็น 10 นาทีจะส่งผลเวลาอีกหลายชั่วโมงที่เหลือในแต่ละวันได้อย่างมหาศาลเลยทีเดียว
.
.
เขียนและเรียบเรียงโดย 100WEALTH
(Reference in comment)
———
100WEALTH
คอมมูนิตี้คนทำธุรกิจขนาดใหญ่
มาร่วมเติบโต ไปกับผู้ร่วมเดินทางอีกกว่า 1 ล้านคน ทั้ง เจ้าของธุรกิจ, SME, ขายของออนไลน์, Startup, Entrepreneur และนักลงทุน ด้วยเป้าหมายเดียวกัน “ไปให้ถึง100ล้าน”
.
#Work
#100WEALTH
#ไปให้ถึง100ล้าน
#SERVgroup

ที่มา 100WEALTH

บทความดี ๆ อีกมากมาย เครดิต https://100wealth.co/

DAO คืออะไร?
กพท. ย่อมาจากDecentralized Autonomous Organization ตามชื่อที่แนะนำ DAO คือองค์กรที่ทำงานอัตโนมัติด้วยรหัสคอมพิวเตอร์และเปิดให้ทุกคนเข้าร่วมได้ (ตราบเท่าที่พวกเขามีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดพื้นฐานบางประการ) การเป็นอิสระหมายความว่าสัญญาอัจฉริยะช่วยดำเนินกระบวนการส่วนใหญ่โดยปราศจากการรบกวนจากมนุษย์ DAO ถูกสร้างขึ้นและจัดการโดยชุมชน ซึ่งร่วมกันจัดการกองทุนและโครงการต่างๆ

DAO กลายเป็นที่รู้จักจาก กองทุนร่วมลงทุน ของ Ethereum ในปี 2559 “The DAO” น่าเสียดายที่ภายในสามสัปดาห์หลังการขายโทเค็น โครงการประสบกับการโจมตีเนื่องจากช่องโหว่ในรหัส ภายหลังมีการคืนทุนเนื่องจากการฮาร์ดฟอร์ก แม้จะมีความท้าทายในช่วงต้น แต่แนวคิดของ DAO ก็ได้รับการปรับปรุงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และปัจจุบันเป็นหนึ่งในรูปแบบการกำกับดูแลที่ได้รับความนิยมมากที่สุดสำหรับโครงการ Decentralized Finance (DeFi)

DAO แต่ละแห่งมีความแตกต่างกัน แต่ส่วนใหญ่ปฏิบัติตามหลักการพื้นฐานเดียวกัน ใครก็ตามที่ถือโทเค็น การกำกับดูแลของ DAO จะมีอำนาจในการลงคะแนนตามสัดส่วนของโทเค็นที่พวกเขาเป็นเจ้าของ ผู้ถือสามารถยื่นข้อเสนอเพื่อเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินงานของ กพท.

ที่มา binance

มีสัญญาณอะไรบ้าง ที่บอกว่าควรเริ่มลงทุนแล้วหลังวิกฤต

ในช่วงภาวะวิกฤต จะดูเหมือนว่ามีข่าวร้ายอยู่เต็มไปหมด จนทำให้นักลงทุนเกิดความกลัว ผลจากความกลัวก็อาจทำให้ขายสินทรัพย์การลงทุนออกมาอย่างไม่ยั้งคิด (Panic Sell) เพื่อต้องการที่จะถือเงินสดให้มากที่สุด เพราะเราเองก็ไม่รู้ว่าจุดต่ำสุด หรือ bottom ของราคาสินทรัพย์นั้นจะอยู่ที่ไหน

แม้ว่าจะมีคำกล่าว ‘ในทุกวิกฤตจะมีโอกาสซ่อนอยู่เสมอ’ แต่ด้วยภาวการณ์เช่นนี้ หลายคนอาจจะไม่แน่ใจว่า เราควรจะกลับเข้าไปลงทุนที่จุดไหน บทความนี้มีคำตอบ

ในการวิเคราะห์การลงทุน เราต้องพิจารณาให้ได้ก่อนว่าตอนนี้ เราอยู่ในวัฏจักรเศรษฐกิจระยะไหน เพราะเราควรจะลงทุนในแต่ละสินทรัพย์ให้สอดคล้องกับวัฏจักรเศรษฐกิจนั่นเอง ในการพิจารณาว่าตอนนี้เราอยู่ในวัฏจักรเศรษฐกิจระยะไหน เราจะพิจารณาจาก เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจต่างๆ ซึ่งตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่เราควรรู้จัก คือ

1. การขยายตัวของเศรษฐกิจ หรือตัวเลขการขยายตัวของจีดีพี (Gross Domestic Product: GDP) เป็นตัวเลขที่แทบจะนำตัวเลขเศรษฐกิจทุกตัวมาสะท้อนรวมกัน ไม่ว่าจะเป็นการบริโภค การลงทุน การใช้จ่ายภาครัฐ การส่งออก และการ นำเข้า

2.อัตราเงินเฟ้อ (Inflation) เป็นดัชนีชี้วัดราคาสินค้าทั้งอุปโภคและบริโภคว่าปรับเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยมากน้อยเพียงใด เช่น เงินเฟ้ออยู่ที่ 3% ก็หมายถึง ราคาสินค้าแพงขึ้นเฉลี่ย 3% ซึ่งกรอบเงินเฟ้อของประเทศไทยอยู่ระหว่าง 0 – 3.5%

โดยปกติตัวเลขทั้ง 2 ตัวนี้มักจะไปด้วยกัน กล่าวคือ เงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หากเศรษฐกิจมีการขยายตัว เงินเฟ้อก็จะปรับตัวเพิ่มขึ้นและหากเศรษฐกิจหดตัว เงินเฟ้อก็ปรับลดลงตามวัฎจักรเศรษฐกิจ โดยการขึ้นลงของเศรษฐกิจนั้นจะถูกแบ่งเป็น 4 ระยะด้วยกัน คือ ระยะฟื้นตัว (Recovery) ระยะเฟื่องฟู (Peak) ระยะถดถอย (Recession) และระยะตกต่ำ (Trough) ซึ่งแต่ละวัฎจักรเศรษฐกิจมีลักษณะดังนี้

1. ระยะฟื้นตัว (Recovery) เป็นช่วงที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว หลังจากเผชิญภาวะตกต่ำถึงขีดสุด เงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ สินค้าที่เหลือค้างสต็อกค่อยๆ ทยอยขายออก ราคาสินค้าเริ่มมีแนวโน้มสูงขึ้น ผลประกอบการของธุรกิจดีขึ้น การผลิตเพิ่มขึ้น การจ้างงานสูงขึ้น ประชาชนมีรายได้ดี ทิศทางการลงทุนมีแนวโน้มดีขึ้น โดยสังเกตจาก GDP Growth ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 2 ไตรมาสติดต่อกัน ซึ่งตัวอย่างของระยะฟื้นตัว คือ การฟื้นตัวหลังวิกฤตเศรษฐกิจ เช่น หลังวิกฤตต้มยำกุ้ง วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ โดยที่หาก GDP Growth ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 2 ไตรมาสติดต่อกันเราจะนับว่าเข้าสู่ระยะฟื้นตัว

แล้วเราควรลงทุนอย่างไร?

ช่วงเวลานี้เหมาะกับการลงทุนใน “หุ้น” มากที่สุด เพราะหุ้นจะได้ผลบวกโดยตรงจากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ และเศรษฐกิจที่ขยายตัว ในขณะที่ตราสารหนี้และเงินฝากจะได้ผลตอบแทนที่ต่ำกว่า

2. ระยะเฟื่องฟู (Peak) เป็นช่วงที่เศรษฐกิจผ่านช่วงฟื้นตัว และก้าวเข้าสู่ช่วงขยายตัว เงินเฟ้อเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นตามเศรษฐกิจที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น แต่เศรษฐกิจยังคงขยายตัวได้มากกว่าเงินเฟ้อ การเติบโตของ GDP จะเริ่มช้าลงจาก ไตรมาสก่อนหน้า หลังจากมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การผลิตอยู่ในระดับสูง เช่นเดียวกับระดับการจ้างงาน แต่การเติบโตค่อนข้างทรงตัว ประชาชนมีรายได้สูงขึ้น มีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ราคาสินค้าและบริการมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นจนอาจก่อให้เกิดเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น

แล้วเราควรลงทุนอย่างไร?

การลงทุนในช่วงเศรษฐกิจระยะเฟื่องฟู จะเน้นลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทองคำ อาหาร และน้ำมัน เพราะราคาปรับตัวดีขึ้นจากการเติบโตของธุรกิจที่ทำให้ความต้องการสินค้าโภคภัณฑ์สูงขึ้น หุ้นที่เกี่ยวกับโภคภัณฑ์ก็จะได้ประโยชน์เช่นกัน อย่างไรก็ตามการลงทุนในหุ้นอาจจะลดความน่าสนใจลง (ยกเว้นหุ้นโภคภัณฑ์) เพราะในช่วงเวลานี้ ดอกเบี้ยจะค่อยๆ ขยับสูงขึ้นส่งผลให้ต้นทุนธุรกิจค่อยๆ ปรับตัวสูงขึ้น กำไรของกิจการจึงลดลงลง ราคาหุ้นจึงมีโอกาสปรับตัวลดลงบ้าง

3. ระยะถดถอย (Recession) เป็นช่วงที่เศรษฐกิจเริ่มส่งสัญญาณการชะลอการขยายตัว สามารถสังเกตเห็นได้ผ่านตัวเลขทางเศรษฐกิจ เช่น อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ติดลบต่อเนื่องมากกว่า 2 ไตรมาส เงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงกว่าช่วงที่ผ่านมาอย่างมีนัยยะสำคัญ ต้นทุนการผลิตโดยรวมสูงขึ้น ตัวเลขการผลิตและจ้างงานเริ่มลดลง เช่น วิกฤตจากโรคระบาด COVID-19 ที่เกิดประมาณไตรมาส 1 ของปี 2020 จะส่งผลให้ GDP Growth ในไตรมาส 1 และ 2 จะติดลบ 2 ไตรมาสติดกันและอาจจะเห็นการฟื้นตัวได้ในไตรมาส 3 และ 4 หากควบคุมโรคระบาดได้ดี และไม่มีการระบาดซ้ำ เป็นต้น อย่างไรก็ตามหากผลกระทบของโรคระบาดต่อระบบเศรษฐกิจรุนแรงกว่าที่คาดการณ์ จะส่งผลให้เราเข้าสู่ระยะตกต่ำได้ ผลของโรคระบาดทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงัก อีกทั้งยังมีผลกระทบจากสงครามราคาน้ำมันระหว่างซาอุฯ และรัสเซียทำให้ราคาน้ำมันตกต่ำ เราจึงไม่เห็นอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น นอกจากนี้เพื่อเป็นการป้องกันผลกระทบต่อเศรษฐกิจ รัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ออกนโยบายและมาตรการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือประชาชน เพื่อไม่ให้เศรษฐกิจเข้าสู่ระยะตกต่ำนั่นเอง

แล้วเราควรลงทุนอย่างไร?

ลดสัดส่วนการลงทุนใน “หุ้น” เนื่องจากกำไรของบริษัทจะเริ่มค่อยๆ ลดลงตามสภาวะเศรษฐกิจ ส่วน “ตราสารหนี้ระยะยาว” ก็ไม่น่าสนใจ เพราะดอกเบี้ยมีแนวโน้มจะขยับสูงขึ้นตามเงินเฟ้อ ทำให้มูลค่าของตราสารหนี้ระยะยาวปรับตัวต่ำลง นอกจากนี้ความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ออกตราสารหนี้มีแนวโน้มลดลง ทำให้การลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาว โดยเฉพาะที่มีอันดับเครดิตเรตติ้งค่อนข้างต่ำ มีความเสี่ยงมากขึ้น “เงินฝาก” จึงเป็นทางเลือกที่ดีสุด

4. ระยะตกต่ำ (Trough) เป็นช่วงที่เศรษฐกิจหดตัวอย่างเต็มตัว GDP Growth หดตัว จนทำจุดต่ำสุดใหม่และมีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้อย่างชัดเจน ประชาชนไม่ค่อยมีกำลังซื้อ เพราะรายได้ลดลงมาก เงินเฟ้อปรับตัวลดลง ผู้ประกอบการลดอัตราการผลิตลง ธนาคารแห่งประเทศไทยจะเริ่มเข้ามามีบทบาทโดยจะลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

แล้วเราควรลงทุนอย่างไร?

ผลตอบแทนของหุ้นอาจจะยังไม่ดีขึ้นมากจากช่วงระยะถดถอย ยังคงแนะนำให้ลดสัดส่วนหุ้นในพอร์ตลง ถ้าจะลงทุนจำเป็นต้องเลือกอย่างระมัดระวังมากๆ โดยแนะนำหุ้นที่มีราคาไม่แพง และกิจการควรมีกระแสเงินสดที่สม่ำเสมอ เช่น หุ้นสาธารณูปโภค (ไฟฟ้า ประปา) เพิ่มสัดส่วนการลงทุน “ตราสารหนี้ระยะยาว” เนื่องจากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ จะทำให้มูลค่าของตราสารหนี้ระยะยาวเพิ่มสูงขึ้น (ราคาตราสารหนี้ระยะยาวจะวิ่งสวนทางกับอัตราดอกเบี้ย) โดยควรเลือกตัวที่มีอัตราเครดิตเรตติ้งที่ดี เพื่อลดความเสี่ยงที่บริษัทที่ออกตราสารจะล้มละลาย

ดังนั้นหากเราต้องการจะลงทุนหลังเกิดวิกฤต สัญญาณสำคัญที่เราต้องพิจารณา คือ GDP Growth เราต้องมั่นใจได้ว่า GDP Growth ได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว และเริ่มเข้าสู่ระยะฟื้นตัว นั่นคือเริ่มเห็น GDP Growth ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 2 ไตรมาสติดต่อกันนั่นเอง

อย่างไรก็ตามสิ่งหนึ่งที่ไม่มีใครสามารถบอกได้อย่างแม่นยำ นั่นคือในแต่ละช่วงของวัฏจักรจะใช้เวลานานแค่ไหน? สิ้นสุดเมื่อไหร่? บางครั้งในแต่ละช่วงอาจใช้เวลาถึง 5 ปี 10 ปี ก็เป็นไปได้ ดังนั้นสิ่งที่คุณควรให้ความสำคัญที่สุด ไม่ใช่การคาดการณ์ว่ามันจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ แต่เป็น “คุณจะลงทุนอย่างไรในแต่ละช่วงของวัฏจักรต่างหาก”

บทความโดย : นิภาพันธ์ พูนเสถียรทรัพย์ CFP®, ACC นักวางแผนการเงินอิสระ นักเขียนและวิทยากร

ที่มา scb.co.th

ความผิดพลาด 3 ข้อที่เรามักจะพลาดกันมากที่สุด
.
ครั้งหนึ่ง นักลงทุนระดับตำนานอย่างโจเอล กรีนแบล็ตต์ (Joel Greenblatt) เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่าข้อผิดพลาด 3 ข้อที่นักลงทุนมักจะผิดพลาดกันมากที่สุด ประกอบไปด้วย
.
1. ใช้อารมณ์มากเกินไป
สิ่งที่คนส่วนใหญ่มักจะให้ความสำคัญมากที่สุด คือราคาหุ้น
และราคาหุ้น คือ สิ่งที่หลอกเราได้มากที่สุด
เมื่อเราเอาราคาหุ้นเป็นที่ตั้ง หมายความว่าเราได้ปล่อยให้อารมณ์เข้าครอบงำ ตัดสินใจซื้อขายหุ้นตามอารมณ์ตลาด ณ เวลานั้น
.
2. ลงทุนแบบไม่รู้เรื่อง
ประวัติศาสตร์ได้บอกเราไว้เสมอว่า
ลงทุนแบบไม่รู้เรื่อง ไม่สามารถทำให้เรามั่งคั่งได้ในระยะยาว เราอาจจะได้เงินในเวลาสั้นๆ แต่สุดท้ายเราก็ต้องเสียให้มันไปอยู่ดี
ถ้าเราไม่เรียนรู้ที่จะประเมินมุลค่าบริษัท นั่นหมายความว่าเรากำลังลงทุนแบบไม่รู้เรื่องอะไร
การประเมินมูลค่าบริษัทเป็นเรื่องยาก เพราะไม่มีสูตรสำเร็จหรือทฤษฏีที่ใช้ได้ 100%
นี้จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมมีนักลงทุนไม่ถึง 2% สามารถสร้างความมั่งคั่งจากการลงทุนได้
… สิ่งแรกที่โจเอลแนะนำ คือ ไปเรียนรู้เรื่องของการประเมินมูลค่าหุ้น ก่อนจะลงทุนหุ้นแบบจริงๆจังๆ
.
3. ให้ความสำคัญกับผลประกอบการล่าสุดมากเกินไป
เรามักจะให้ความสำคัญกับผลประกอบการล่าสุดมากเกินไป
แต่สิ่งที่สำคัญกว่า คือ “ที่มาของกำไร” มาจากอะไร
.
หุ้นที่ผลประกอบการแย่ ไม่ได้หมายความมันจะแย่เสมอไป บางทีมันอาจจะมีอะไรดีๆซ่อนอยู่ก็ได้ เช่น รายได้ลดลงแต่กำไรสุทธิมากขึ้นจากการที่ Net Margin ดูดีขึ้น หรือธุรกิจใหม่ของบริษัทเริ่มมีกำไรดูดีขึ้น
.. สิ่งที่ควรทำ คือ การประเมินอนาคต ไม่ใช่การมองอดีต

ขอบคุณแหล่งที่มา stock2morrow

stock2morrow

#ThaiPBS #เศรษฐกิจติดบ้าน #มนุษย์เงินเดือน
งานเสวนา “แนะกลยุทธ์สู่ความมั่งคั่งฉบับมนุษย์เงินเดือน” (15 พ.ย. 65)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *